ประกาศกรมสวัสดิการ ฯใหม่ หลักสูตรอบรมลูกจ้างขับขี่รถยก 2567 เรื่องหลักสูตรการอบรมลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก
- Cheyne Stokes
- 24 ม.ค.
- ยาว 2 นาที

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักสูตรการอบรมลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2567 เป็นการกำหนดแนวทางตามกฎกระทรวงปี 2564 เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรและรถยก โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
1. ข้อกำหนดให้นายจ้างจัดอบรมลูกจ้าง
ลูกจ้างที่ทำหน้าที่ขับรถยกทุกประเภทต้องผ่านการฝึกอบรม
กรณีรถยกที่ใช้แรงคนหรือไม่มีต้นกำลัง ต้องมีการอบรมตามคู่มือผู้ผลิต
ประเภทของรถยกที่กำหนดมี 11 ประเภท ได้แก่
Warehouse Forklift
side loader
Counterbalance Forklift
Reach Truck
Tele handler
industrial forklift
rough terrain forklift
walkie stacker
order picker
reach stacker
และอื่นๆ
2. ระยะเวลาอบรม และอบรมเพิ่มเติมจากเดิม
ปรับระยะเวลาจากเดิมทั้งหมด 6 ชั่วโมง เป็น 12 ชั่วโมง อบรม 2 วัน
กรณีลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับรถยกตามประเภทที่แตกต่างไปจากเดิม หรือปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับรถยกแตกต่างจากหลักสูตรเดิมที่เคยเข้ารับการฝึกอบรม ต้องจัดให้ลูกจ้างเข้าอบรมใหม่ตามประเภทการใช้งานปัจจุบัน ซึ่งระยะเวลาต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
กรณีเคยผ่านการอบรมมาแล้วครบ 12 ชั่วโมง และมีเอกสารหรือหลักฐานการรับรอง ถือว่าผ่าน
กรณีเคยผ่านการอบรมมาแล้วแต่ ระยะเวลาน้อยกว่า 12 ชั่วโมง ต้องเข้าอบรมเพิ่มจนครบ 12 ชั่วโมง พร้อมส่งเอกสารและหลักฐานใหม่อีกครั้ง
เนื้อหาอบรมลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก
ผู้เข้าอบรมจะได้รับการอบรมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รวมกันไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง แบ่งเป็นระยะเวลา 2 วัน ซึ่งมีข้อกำหนดเนื้อหาตามกรณี 3 กรณีดังนี้
1. หลักสูตรอบรมความปลอดภัยในการขับรถยก การตรวจสอบและบำรุงรักษารถยก 12 ชั่วโมง (2 วัน)
เนื้อหาภาคทฤษฎี
(ก) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรถยก กฎหมายเกี่ยวกับรถยกที่ใช้ก๊าซบิโตรเสียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
(ข) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประเภทของรถยกตามลักษณะการใช้งาน (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
(ค) ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรถยก กฎระเบียบและข้อบังคับในการทำงานเกี่ยวกับรถยก สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถยก และมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
(ง) โครงสร้าง ส่วนประกอบ อุปกรณ์ แผงควบคุมบังคับ ระบบสัญญาณไฟเตือนของรถยกการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเกี่ยวกับรถยกประเภทนั้น ๆ (ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที)
เนื้อหาภาคปฏิบัติ
(ก) โครงสร้าง ส่วนประกอบ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษารถยกตามประเภทนั้นๆ ตามหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
(ข) ฝึกปฏิบัติขับรถยกประเภทนั้น ๆ ตามเส้นทางตรง ทางโค้ง ทางแยก การหยุด การจอด การให้สัญญาณ การเดินหน้า การถอยหลัง และการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของในลักษณะต่าง ๆ (ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที)
ทดสอบหลังอบรม : ภาคทฤษฎี ต้องไม่น้อยกว่า 30 นาที , ภาคปฏิบัติ ต้องไม่น้อยกว่า 2 ชม. 30 นาที

----------------------------------------------------
2. กรณีเคยอบรมน้อยกว่า 12 ชั่วโมง
เนื้อหาภาคทฤษฎี
(ก) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรถยก กฎหมายเกี่ยวกับรถยกที่ใช้ก๊าซบิโตรเสียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
(ข) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประเภทของรถยกตามลักษณะการใช้งาน (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
(ค) ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรถยก กฎระเบียบและข้อบังคับในการทำงานเกี่ยวกับรถยก สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถยก และมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
(ง) โครงสร้าง ส่วนประกอบ อุปกรณ์ แผงควบคุมบังคับ ระบบสัญญาณไฟเตือนของรถยกการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเกี่ยวกับรถยกประเภทนั้น ๆ (ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที)
ทดสอบหลังอบรม : ภาคทฤษฎี ต้องไม่น้อยกว่า 30 นาที
3. กรณีใช้งานประเภทรถยกต่างจากเดิม
เนื้อหาภาคทฤษฎี
(ง) โครงสร้าง ส่วนประกอบ อุปกรณ์ แผงควบคุมบังคับ ระบบสัญญาณไฟเตือนของรถยกการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเกี่ยวกับรถยกประเภทนั้น ๆ (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที)
เนื้อหาภาคปฏิบัติ
(ก) โครงสร้าง ส่วนประกอบ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษารถยกตามประเภทนั้นๆ ตามหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
(ข) ฝึกปฏิบัติขับรถยกประเภทนั้น ๆ ตามเส้นทางตรง ทางโค้ง ทางแยก การหยุด การจอด การให้สัญญาณ การเดินหน้า การถอยหลัง และการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของในลักษณะต่าง ๆ (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
ทดสอบหลังอบรม : ภาคทฤษฎี ต้องไม่น้อยกว่า 30 นาที , ภาคปฏิบัติ ต้องไม่น้อยกว่า 2 ชม.

----------------------------------------------------
แนวทางการจัดอบรม
1. ขั้นตอนการอบรม
แจ้งกำหนดการ หลักสูตร รายชื่อผู้เข้าอบรม และคุณสมบัติวิทยากรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน
มีการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินไม่ต่ำกว่า 60%
ออกเอกสารรับรองหรือวุฒิบัตรให้ผู้ผ่านการอบรม
กรณีอบรมนอกสถานที่ (ทำงาน) ต้องดำเนินการจัดอบรมตามประเภทรถยกประเภทเดียวกับที่ปฏิบัติงาน
2. ข้อกำหนดจำนวนผู้เข้าอบรม
ภาคทฤษฎี: ไม่เกิน 60 คนต่อวิทยากร 1 คน
ภาคปฏิบัติ: ไม่เกิน 15 คนต่อวิทยากร 1 คน และรถยก 1 คัน
3. คุณภาพการอบรม
มีเอกสารประกอบ อุปกรณ์ และรถยกประเภทเดียวกันกับที่ใช้ปฏิบัติงานจริง
การจัดอบรมต้องครบถ้วนทั้งหัวข้อวิชาและระยะเวลาที่กำหนด
ประโยชน์ของการอบรม
เพิ่มความปลอดภัย: ลดความเสี่ยงจากการใช้งานรถยกในสถานประกอบการ
มาตรฐานการทำงาน: สร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับผู้ขับรถยกแต่ละประเภท
เอกสารรับรอง: ช่วยให้นายจ้างและลูกจ้างมีเอกสารยืนยันการปฏิบัติตามกฎหมาย
ข้อกำหนดเพิ่มเติม
ผู้ที่ผ่านการอบรมและย้ายสถานประกอบการ สามารถใช้วุฒิบัตรเดิมยืนยันคุณสมบัติได้
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอบรมต้องเก็บรักษาให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบ
แนะนำศูนย์อบรมโฟล์คลิฟท์ / รถยก ตามหลักสูตรกฎหมายใหม่ สำหรับผู้ที่กำลังมองหาศูนยฝึกที่พร้อมจัดอบรมลูกจ้างขับขี่รถยก เนื้อตามกฎหมายใหม่ ที่ แอทลาสท์ ออเปอร์เรชั่น เราพร้อมจัดอบรมแบบอินเฮ้าส์ โดยแบ่งหลักสูตรเป็น
อบรมตามประเภทรถยก ที่ลูกค้าใช้งาน 12 ชม. (สำหรับลูกค้าไม่เคยผ่านการอบรมรถยกมาก่อน)
หลักลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก กรณีเคยผ่านการอบรมมาแล้วแต่ ระยะเวลาน้อยกว่า 12 ชั่วโมง
หลักลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก กรณีประเภทรถยกที่แตกต่างไปจากเดิม
พร้อมรับวุฒิบัตรหลังผ่านการอบรม > หลักสูตรการอบรมลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก
ติดต่อสอบถาม
โทร : 095-590-9355
Line : atlast.op
E-mail : info@atlast.co.th
コメント